เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลก 2565 เศรษฐกิจโลกล่าสุด เศรษฐกิจโลก 2022 แนวโน้ม เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลก คือ บทความ เศรษฐกิจโลก ข่าวเศรษฐกิจโลก 2022 ล่าสุด วิเคราะห์เศรษฐกิจโลก 2565
เศรษฐกิจโลกพอเข้าสู่ปี 2566 มีเสียงเตือนว่าจะเกิดภาวะ เศรษฐกิจถดถอย และผลกระทบออกมาถี่ขึ้น เมื่อโลกกำลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผู้กำหนดนโยบายควรรับมืออย่างไร เศรษฐกิจโลก 2565จากการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์โดย Bloomberg ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2565 ผลการสำรวจพบว่า กว่า 70% ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ตอบแบบสอบถามคิดว่าเศรษฐกิจจะถดถอยในปีนี้ เศรษฐกิจโลกเชื่อมโยงเกี่ยวพันอยู่กับนโยบายของสหรัฐอเมริกา ดังนั้น ท่ามกลางความหวาดผวา ท่ามกลางคำเตือนจากรอบทิศว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอย และชาวโลกจะเจอสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยากลำบากมากขึ้นนั้น สถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา จึงยังเป็นสิ่งที่โลกต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้หลายปัจจัยภายในสหรัฐ สะท้อนแนวโน้มว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve System) หรือเฟด จะยังคงนโยบายการเงินที่ตึงเครียดต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ก็มีความเห็นบางส่วนว่าอาจจะผ่อนคลายลงเล็กน้อย โดยขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลง วิเคราะห์เศรษฐกิจโลก 2565จับตาเงินเฟ้อสหรัฐ ปัจจัยสำคัญการขึ้นดอกเบี้ย ปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลง หรือจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเดิม ก็คือ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งจะเปิดเผยออกมาในวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคมนี้ นักลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ว่า นโยบายการเงินอันแข็งกร้าว ของธนาคารกลางสหรัฐ จะลดอัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคมลงได้อีกครั้ง เหมือนที่อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายนลดลงจากเดือนก่อนหน้านั้น จากการสำรวจตลาดของบริษัทให้บริการข้อมูลตลาดการเงิน Refinitiv คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2565 ของสหรัฐ จะอยู่ที่ 6.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (YOY) เป็นอัตราที่ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน (MOM) ซึ่งอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 7.1% และนับเป็นอัตราที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565
เศรษฐกิจโลก 2565
เมื่อเทียบแบบเดือนต่อเดือน (MOM) คาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนธันวาคมจะยังคงทรงตัวจากเดือนพฤศจิกายนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 0.1% (หลังปรับฤดูกาล) การลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภค (ซึ่งชี้วัดอัตราเงินเฟ้อ) ในสหรัฐ ได้รับแรงหนุนส่วนหนึ่งจากราคาพลังงานที่ลดลง รวมถึงน้ำมันเบนซีนที่ราคาลดลง 13% ในเดือนธันวาคม เศรษฐกิจโลกล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคมจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการพิจารณาของเฟดในการประชุมในวันที่ 31 มกราคม และ 1 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ และจะช่วยชี้ว่าธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.5% เท่ากับในเดือนก่อนหน้านี้ หรือขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ตลาดแรงงานแกร่ง “เฟด” ขึ้นดอกเบี้ยต่อ ตัวเลขเงินเฟ้อยังไม่ออกมาให้เห็น แต่อีกหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาได้ตัวเลขออกมาชัดเจนแล้ว ก็คือ ปัจจัยที่ว่าตลาดแรงงานสหรัฐ ยังคงแข็งแกร่ง การจ้างงานเพิ่ม อัตราว่างงานลด และค่าจ้างก็เพิ่มขึ้น จึงถูกยกขึ้นมาเป็นเหตุผลสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผย เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนธันวาคม 2565 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่ง ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนพฤศจิกายนที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 256,000 ตำแหน่ง ก่อนหน้านี้ มีคาดการณ์ว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ น่าจะน้อยลงแล้ว โดย Dow Jones คาดว่าการจ้างงานในเดือนธันวาคมน่าจะเพิ่มขึ้นราว 200,000 ตำแหน่ง แต่ตัวเลขที่ออกมานี้สูงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ ขณะที่ค่าจ้างรายชั่วโมงก็เพิ่มขึ้น 0.3% จากเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 4.6% จากเดือนธันวาคม 2564
เศรษฐกิจโลกล่าสุด
ส่วนอัตราการว่างงานลดลงจาก 3.7% ในเดือนพฤศจิกายน มาอยู่ที่ 3.5% ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนว่าเศรษฐกิจยังดี หรือไม่แย่ เป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะสั้น เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ ยังมีพื้นที่ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อดึงอัตราเงินเฟ้อให้กลับลงไปอยู่ในกรอบเป้าหมาย 2% “ไม่ใช่ว่าเฟดต้องการให้การจ้างงานน้อยลง เศรษฐกิจโลก 2022สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการเติบโตของค่าจ้างที่ต่ำลง เพราะพวกเขากังวลว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง” แรนดัลล์ โครสซ์เนอร์ (Randall Kroszner) อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่ University of Chicago Booth School of Business ให้ความเห็นกับ Bloomberg เขาวิเคราะห์อีกว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลง จากขึ้นทีละ 0.50% เป็นทีละ 0.25% หลังการประชุมในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ เอกชน 67% เชื่อเศรษฐกิจจะถดถอยในปีนี้ การสำรวจความคิดเห็น เจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวน 1,000 แห่งในสหรัฐอเมริกา โดย Provident Bank ผลปรากฏว่า เจ้าของกิจการ 67% เชื่อว่าสหรัฐ จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ สัดส่วนที่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะถดถอยค่อนข้างต่างกัน
เศรษฐกิจโลก 2022
โดยนักธุรกิจจากฝั่งตะวันตกและตอนกลางของประเทศสัดส่วน 72% เชื่อว่ามีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 ส่วนในฝั่งตะวันออกมีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 59% เชื่อว่ามีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 แม้เชื่อว่าเศรษฐกิจจะถดถอย แต่นักธุรกิจผู้ตอบแบบสอบถามยังมีความหวังในทางที่ดี เมื่อถูกถามว่าคิดว่าธุรกิจของตนเองจะเป็นอย่างไร 78% มีความหวังว่าจะ “ดีขึ้น” หรือ “ดีขึ้นมาก” และ 68% บอกว่า บริษัทของพวกเขาจะเพิ่มการจ้างงานในปี 2566 นี้ เสียงเตือนถึงถี่ขึ้น ลำบากกันทั่วโลก ขณะที่สหรัฐ ยังมีเหตุผลในการขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แนวโน้ม เศรษฐกิจโลกความกังวลต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็นับวันยิ่งเพิ่มขึ้น และเสียงเตือนก็มีออกมาให้ได้ยินถี่ขึ้นเมื่อเข้าสู่ปีใหม่ เศรษฐกิจเอเชีย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกมาก-ในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าส่งไปขายทั่วโลก-จะได้รับผลกระทบหนัก เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 Bloomberg รายงานว่า ธนาคารโลก (World Bank) กังวลว่าอาจจะมีแรงกระแทกอื่น ๆ หรือปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ผลักให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2566 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศขนาดเล็กที่เปราะบาง
แนวโน้ม เศรษฐกิจโลก
ธนาคารโลกวิเคราะห์ว่า แม้จะไม่มีวิกฤตอื่น ๆ อีก ลำพังเพียงวิกฤตเดิมที่สะสมมา เศรษฐกิจโลก คือก็คาดว่าทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกในปีนี้ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว เนื่องจากการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดที่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ สภาวะทางการเงินที่เลวร้ายลง และการหยุดชะงักอย่างต่อเนื่องจากการที่รัสเซียรุกรานยูเครน เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคำเตือนจาก คริสตาลินา จอร์เจียวา (Kristalina Georgieva) กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ที่เตือนรับต้นปีว่า ข่าวเศรษฐกิจโลก 2022 ล่าสุดโลกกำลังเผชิญกับปีที่ยากลำบากรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐ สหภาพยุโรป และจีนกำลังชะลอตัวพร้อมกัน World Bank กับ IMF แนะผู้กำหนดนโยบายต้องเผชิญหน้าความท้าทายนี้อย่างไร ธนาคารโลก หรือ World Bank แนะนำว่า “ความพยายามอย่างเร่งด่วนในระดับโลกและระดับชาติ” เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการลดความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ลดผลกระทบจากหนี้ในประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (EMDEs) ซึ่งคาดว่าการเติบโตของการลงทุนจะยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
เศรษฐกิจโลก คือ
“จำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาต้องแน่ใจว่าการสนับสนุนทางการคลังมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเปราะบาง อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ยังคงถูกตรึงไว้อย่างดี และระบบการเงินยังคงมีความยืดหยุ่นต่อไป”คริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการผู้จัดการ IMF เคยเตือน อย่างละเอียดแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง บทความ เศรษฐกิจโลกขณะเข้าร่วมประชุมผู้นำเอเปค ที่ประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ว่า ความเสี่ยงเรื่องอัตราเงินเฟ้อเป็นความอันตรายที่ชัดเจน ผู้กำหนดนโยบายต้องให้ความสำคัญสูงสุดกับการจัดการความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดความไม่มั่นคง และทำร้ายคนยากจนอย่างมากที่สุด“สำหรับปี 2023 เราต้องตระหนักว่าช่วงเวลาที่ยากลำบากรออยู่ข้างหน้า สิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึง”กรรมการผู้จัดการ IMF บอกว่า ปี 2566 จะเป็นปีที่หนักหนาสำหรับผู้กำหนดนโยบายมากกว่าปี 2563 ที่โควิด-19 ระบาดเป็นปีแรก ย้อนกลับไปในตอนนั้น ผู้กำหนดนโยบายมีเป้าหมายร่วมกันอย่างเดียว คือ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลังดำเนินไปในทิศทางเดียวกันแต่ในปี 2566 นโยบายการคลังจะต้องปรับใช้อย่างระมัดระวัง โดยกำหนดเป้าหมายช่วยเหลือส่วนที่เปราะบางที่สุดในระบบเศรษฐกิจ แต่จะต้องไม่ทำลายนโยบายการเงินและการต่อสู้กับเงินเฟ้อ “กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อนโยบายการเงินเหยียบเบรก นโยบายการคลังไม่ควรเหยียบคันเร่ง” กรรมการผู้จัดการ IMF ให้คำแนะนำผู้กำหนดนโยบายทั้งภาคการคลังและการเงินเศรษฐกิจโลก
ขอบคุณเครดิต prachachat.net
ข่าวแนะนำ
- หุ้นไทย มีโอกาสทองในปี 2023
- หุ้นไทย หุ้นไทยวันนี้ปิดพุ่ง Fund Flow
- เศรษฐกิจต่างประเทศ เศรษฐกิจโลกชะลอหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
- เศรษฐกิจปี 2023 เศรษฐกิจโลก ปี 2023
- เศรษฐกิจปี 2022 จีดีพีเวียดนามปี 2022 โตเร็วที่สุดในรอบ 25 ปี